Sunday, 28 April 2024
กภ.​อุสา​ บุญ​เพ็ญ

ใครที่ชอบการออกกำลังกายที่ใช้แรงกำลังช่วงขามาก ๆ อาจจะต้องพึงระวังถึงการบาดเจ็บของ “เอ็นหัวเข่า” เพราะการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกเช่นการกระโดดหรือการวิ่ง หลาย ๆ คนอาจจะไม่ได้ให้สำคัญตรงบริเวณหัวเข่าอาจทำให้เกิด “เอ็นหัวเข่าอักเสบ” ขึ้นได้

คนที่มีปัญหาน้ำหนักเกินส่วนใหญ่​มักเผชิญกับปัญหา​การเจ็บเข่าแบบเป็น ๆ​ หาย ๆ​ ยิ่งพยายามออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก​กลับยิ่งทำให้เจ็บเข่ามากยิ่งขึ้น​ เป็นปัญหา​วนไปวนมา​ไม่จบสิ้น​ จนมีคำถามผุดขึ้นมาในใจว่า​ เอ๊ะ! หรือฉันกำลังเป็นโรค ​"เข่าเสื่อม" ??

การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน​เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้น ๆ​ ของโรคข้อเข่าเสื่อม​ แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้น​ โรคที่เกี่ยวกับหัวเข่ายอดฮิตที่พบได้มากในกลุ่มวัยรุ่นจนถึงวัยทำงาน​ คือ​ "เอ็นหัวเข่าอักเสบ"

“เอ็นหัวเข่าอักเสบ”​ มักเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย​ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก เช่น การกระโดด และ การวิ่ง แม้แต่การออกกำลังกายที่มีการขยับ​ไปมาของข้อเข่ามาก ๆ​ เช่น การปั่นจักรยาน​ ก็ยังพบอาการเอ็นหัวเข่าอักเสบได้​เช่น​กัน นอกจากนี้อุบัติเหตุพลัดตก หกล้ม หรือเดินขาพลิกผิดจังหวะต่าง ๆ ก็นำมาซึ่งปัญหาเอ็นหัวเข่าอักเสบได้

เอ็นกล้ามเนื้อหัวเข่า (tendon) ที่มักเกิดการอักเสบ ได้แก่ ส่วนปลายของกล้ามเนื้อหน้าขา (Quadriceps) และกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstrings: Biceps femoris, Semimembranosus, Semitendinosus)​ ส่วนปลายของกล้ามเนื้อนี้จะไปเกาะกับส่วนหนึ่งของกระดูกบริเวณหัวเข่า (tibia & fibula) ​จึงเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย​ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่าที่มากเกินไป​หรือมีแรงกระแทกซ้ำ ๆ​ การบาดเจ็บของเอ็นหัวเข่านี้จึงมักเกิดขึ้นแบบ​ค่อยเป็นค่อยไปสะสมจนมีการปวดเรื้อรัง

เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) มีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยในการออกแรง​เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อเข่า

นอกจากนี้หากมีแรงกระแทกมาก ๆ ร่วมกับการบิดหมุนของข้อเข่า เช่น อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา ​อาจจะทำให้เอ็นกระดูก (Ligament) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างกระดูกหัวเข่าแต่ละชิ้น ได้รับ​บาดเจ็บ​ ซึ่งการบาดเจ็บลักษณะนี้มักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน​ทันที​

เอ็นกระดูก (Ligament) เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างกระดูกแต่ละชิ้น มีความแข็งแรงมาก มีหน้าที่เพิ่มความมั่นคงและแข็งแรงของข้อเข่า

อาการของเอ็นเข่าอักเสบ
>> เจ็บด้านหน้าหรือด้านหลังเข่าบริเวณข้อพับ บางคนเจ็บเข่าด้านในหรือด้านนอก ขณะยืน เดิน ขึ้น ลงบันไดหรือพื้นลาดชัน บางคนเจ็บมากตอนเริ่มต้นเหยียดขาลุกขึ้นยืน
>> อาการอักเสบ บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ หรือมีอาการแดงที่บริเวณที่ปวดร่วมด้วย
>> มีอาการบวมของถุงน้ำรอบ ๆ ข้อเข่าร่วมด้วยได้ในบางกรณี
>> อาการเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ด้วยการพักและดูแลรักษาตนเอง แต่หากพบว่ายังคงมีอาการรุนแรงต่อเนื่อง กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นเวลานานกว่านั้น อาจมีภาวะเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
>> หากมีการบาดเจ็บที่เอ็นกระดูกหรือเอ็นกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ​ เรื้อรัง​โดยไม่ได้รับการรักษา​ที่ถูกต้อง​ อาจนำไปสู่ปัญหาข้อเข่า​เสื่อมได้เร็วขึ้น

การรักษาเส้นเอ็นเข่าอักเสบ
>> หยุดพักกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวข้อเข่าจนกว่าอาการอักเสบจะดีขึ้น
>> ประคบด้วยความเย็นนาน 20 นาทีเพื่อช่วยลดปวดและลดอักเสบ
>> การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีบำบัดรักษาโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นข้อเข่าที่อักเสบ รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ รวมทั้งการตรวจประเมิน​การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ​ เช่น​ การทรงตัวของขา เป็นต้น
>> เมื่ออาการปวดและบวมลดลงแล้ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติและหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักในช่วงแรก

ท่ากายบริหารที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพก ​และเอ็นรอบหัวเข่า​จะช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บของ​เอ็นรอบหัวเข่าได้ ดังนี้

1.) Squat ยืนกางขา​กว้างเท่าระดับไหล่ หลังตรง​ เกร็งหน้าท้องเล็กน้อย งอเข่า​พร้อมแอ่นก้นไปทางด้านหลัง​ ระวังอย่าให้ระดับหัวเข่าเลยปลายเท้า​ แล้วยืดตัวขึ้นตามเดิม ทำ​วันละประมาณ​ 10-15​ ครั้ง​ วันละ​ 3​ รอบ​

2.)​ Lunge ยืนตรง​ ก้าวขาไปด้านหน้า​ 1​ ก้าว ย่อเข่าทั้ง​ 2​ ข้าง​ เป็นมุมฉาก ทรงตัวให้น้ำหนักอยู่ตรงกลาง แล้วยืดตัวขึ้นตามเดิม​ ทำสลับขาทั้ง​ 2​ ข้าง ทำข้างละประมาณ​ 10-15​ ครั้งต่อรอบ​ วันละ​ 3​ รอบ

3.)​ Clam shell นอนตะแคง​ สวมยางยืดแบบวงไว้ระหว่างหัวเข่าทั้ง​ 2​ ข้าง ออกแรงกางหัวเข่า​แบบเปิดสะโพกออกสู้กับแรงตึงของยางยืด จากนั้นผ่อนแรงกลับสู่ท่าปกติ ทำสลับขาทั้ง​ 2​ ข้าง ทำข้างละประมาณ​ 10-15​ ครั้งต่อรอบ​ วันละ​ 3​ รอบ

นอกจากนี้การฝึกฝนความคล่องแคล่ว​และการทรงตัวก็จะมีส่วนช่วยให้เอ็นหัวเข่ามีความแข็งแรงและบาดเจ็บได้ยากขึ้น​เช่น​กัน​ แต่การฝึกดังกล่าวควรทำเมื่อไม่มีอาการบาดเจ็บแล้วเท่านั้น​ เช่น​ การเดินสไลด์ไปทางด้านข้าง​ การวิ่งเหยาะ ๆ​ ไปด้านหน้าและหลัง​ การยืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียว​ เป็นต้น

.

เขียนโดย: กภ.อุสา บุญเพ็ญ ปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต พัฒนาการมนุษย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของคลินิกกายภาพบำบัด และเพจสุขภาพดี


เอกสารอ้างอิง
https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/quadriceps-tendon-tear/
http://physio4richmond.co.uk/news/hamstring-tendinopathy-in-runners/
https://www.physio-pedia.com/File:Quadriceps_muscle.jpg
https://www.impactphysicaltherapy.com/4-tips-to-prevent-an-anterior-cruciate-ligament-acl-injury/
https://cbphysicaltherapy.com/how-to-perform-a-perfect-squat/
https://www.123rf.com/photo_124593050_woman-making-lunges-doing-sport-exercises-in-gym-leg-workout-muscle-building-healthy-and-active-life.html?vti=o1wiboi1ylu3gw7v4z-1-1
https://www.fitwirr.com/exercise/mini-band-clamshell-exercise/

เรื่องของ ‘เข่า’ คือเรื่องของเรา ภัยร้าย! “เอ็นหัวเข่าอักเสบ”

คนที่มีปัญหาน้ำหนักเกินส่วนใหญ่​มักเผชิญกับปัญหา​การเจ็บเข่าแบบเป็น ๆ​ หาย ๆ​ ยิ่งพยายามออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก​กลับยิ่งทำให้เจ็บเข่ามากยิ่งขึ้น​ เป็นปัญหา​วนไปวนมา​ไม่จบสิ้น​ จนมีคำถามผุดขึ้นมาในใจว่า​ เอ๊ะ! หรือฉันกำลังเป็นโรค ​"เข่าเสื่อม" ??

การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน​เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้น ๆ​ ของโรคข้อเข่าเสื่อม​ แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้น​ โรคที่เกี่ยวกับหัวเข่ายอดฮิตที่พบได้มากในกลุ่มวัยรุ่นจนถึงวัยทำงาน​ คือ​ "เอ็นหัวเข่าอักเสบ"

“เอ็นหัวเข่าอักเสบ”​ มักเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย​ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก เช่น การกระโดด และ การวิ่ง แม้แต่การออกกำลังกายที่มีการขยับ​ไปมาของข้อเข่ามาก ๆ​ เช่น การปั่นจักรยาน​ ก็ยังพบอาการเอ็นหัวเข่าอักเสบได้​เช่น​กัน นอกจากนี้อุบัติเหตุพลัดตก หกล้ม หรือเดินขาพลิกผิดจังหวะต่าง ๆ ก็นำมาซึ่งปัญหาเอ็นหัวเข่าอักเสบได้

เอ็นกล้ามเนื้อหัวเข่า (tendon) ที่มักเกิดการอักเสบ ได้แก่ ส่วนปลายของกล้ามเนื้อหน้าขา (Quadriceps) และกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstrings: Biceps femoris, Semimembranosus, Semitendinosus)​ ส่วนปลายของกล้ามเนื้อนี้จะไปเกาะกับส่วนหนึ่งของกระดูกบริเวณหัวเข่า (tibia & fibula) ​จึงเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย​ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่าที่มากเกินไป​หรือมีแรงกระแทกซ้ำ ๆ​ การบาดเจ็บของเอ็นหัวเข่านี้จึงมักเกิดขึ้นแบบ​ค่อยเป็นค่อยไปสะสมจนมีการปวดเรื้อรัง

เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) มีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยในการออกแรง​เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อเข่า

นอกจากนี้หากมีแรงกระแทกมาก ๆ ร่วมกับการบิดหมุนของข้อเข่า เช่น อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา ​อาจจะทำให้เอ็นกระดูก (Ligament) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างกระดูกหัวเข่าแต่ละชิ้น ได้รับ​บาดเจ็บ​ ซึ่งการบาดเจ็บลักษณะนี้มักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน​ทันที​

เอ็นกระดูก (Ligament) เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างกระดูกแต่ละชิ้น มีความแข็งแรงมาก มีหน้าที่เพิ่มความมั่นคงและแข็งแรงของข้อเข่า

อาการของเอ็นเข่าอักเสบ
>> เจ็บด้านหน้าหรือด้านหลังเข่าบริเวณข้อพับ บางคนเจ็บเข่าด้านในหรือด้านนอก ขณะยืน เดิน ขึ้น ลงบันไดหรือพื้นลาดชัน บางคนเจ็บมากตอนเริ่มต้นเหยียดขาลุกขึ้นยืน
>> อาการอักเสบ บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ หรือมีอาการแดงที่บริเวณที่ปวดร่วมด้วย
>> มีอาการบวมของถุงน้ำรอบ ๆ ข้อเข่าร่วมด้วยได้ในบางกรณี
>> อาการเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ด้วยการพักและดูแลรักษาตนเอง แต่หากพบว่ายังคงมีอาการรุนแรงต่อเนื่อง กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นเวลานานกว่านั้น อาจมีภาวะเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
>> หากมีการบาดเจ็บที่เอ็นกระดูกหรือเอ็นกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ​ เรื้อรัง​โดยไม่ได้รับการรักษา​ที่ถูกต้อง​ อาจนำไปสู่ปัญหาข้อเข่า​เสื่อมได้เร็วขึ้น

การรักษาเส้นเอ็นเข่าอักเสบ
>> หยุดพักกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวข้อเข่าจนกว่าอาการอักเสบจะดีขึ้น
>> ประคบด้วยความเย็นนาน 20 นาทีเพื่อช่วยลดปวดและลดอักเสบ
>> การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีบำบัดรักษาโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นข้อเข่าที่อักเสบ รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ รวมทั้งการตรวจประเมิน​การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ​ เช่น​ การทรงตัวของขา เป็นต้น
>> เมื่ออาการปวดและบวมลดลงแล้ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติและหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักในช่วงแรก

ท่ากายบริหารที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพก ​และเอ็นรอบหัวเข่า​จะช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บของ​เอ็นรอบหัวเข่าได้ ดังนี้

1.) Squat ยืนกางขา​กว้างเท่าระดับไหล่ หลังตรง​ เกร็งหน้าท้องเล็กน้อย งอเข่า​พร้อมแอ่นก้นไปทางด้านหลัง​ ระวังอย่าให้ระดับหัวเข่าเลยปลายเท้า​ แล้วยืดตัวขึ้นตามเดิม ทำ​วันละประมาณ​ 10-15​ ครั้ง​ วันละ​ 3​ รอบ​

2.)​ Lunge ยืนตรง​ ก้าวขาไปด้านหน้า​ 1​ ก้าว ย่อเข่าทั้ง​ 2​ ข้าง​ เป็นมุมฉาก ทรงตัวให้น้ำหนักอยู่ตรงกลาง แล้วยืดตัวขึ้นตามเดิม​ ทำสลับขาทั้ง​ 2​ ข้าง ทำข้างละประมาณ​ 10-15​ ครั้งต่อรอบ​ วันละ​ 3​ รอบ

3.)​ Clam shell นอนตะแคง​ สวมยางยืดแบบวงไว้ระหว่างหัวเข่าทั้ง​ 2​ ข้าง ออกแรงกางหัวเข่า​แบบเปิดสะโพกออกสู้กับแรงตึงของยางยืด จากนั้นผ่อนแรงกลับสู่ท่าปกติ ทำสลับขาทั้ง​ 2​ ข้าง ทำข้างละประมาณ​ 10-15​ ครั้งต่อรอบ​ วันละ​ 3​ รอบ

นอกจากนี้การฝึกฝนความคล่องแคล่ว​และการทรงตัวก็จะมีส่วนช่วยให้เอ็นหัวเข่ามีความแข็งแรงและบาดเจ็บได้ยากขึ้น​เช่น​กัน​ แต่การฝึกดังกล่าวควรทำเมื่อไม่มีอาการบาดเจ็บแล้วเท่านั้น​ เช่น​ การเดินสไลด์ไปทางด้านข้าง​ การวิ่งเหยาะ ๆ​ ไปด้านหน้าและหลัง​ การยืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียว​ เป็นต้น


เอกสารอ้างอิง
https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/quadriceps-tendon-tear/
http://physio4richmond.co.uk/news/hamstring-tendinopathy-in-runners/
https://www.physio-pedia.com/File:Quadriceps_muscle.jpg
https://www.impactphysicaltherapy.com/4-tips-to-prevent-an-anterior-cruciate-ligament-acl-injury/
https://cbphysicaltherapy.com/how-to-perform-a-perfect-squat/
https://www.123rf.com/photo_124593050_woman-making-lunges-doing-sport-exercises-in-gym-leg-workout-muscle-building-healthy-and-active-life.html?vti=o1wiboi1ylu3gw7v4z-1-1
https://www.fitwirr.com/exercise/mini-band-clamshell-exercise/


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9

การออกกำลังกายในรูปแบบ “การแกว่งแขน” เป็นสิ่งที่หลายองค์กรสนับสนุนเพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์แถมยังสามารถทำได้เอง แต่หลาย ๆ คนก็อาจจะแกว่งแขนผิดท่าส่งผลทำให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณหัวไหล่ได้

ในช่วงที่ผ่านมากระแสการออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขนเพื่อลดพุง​ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่ง่าย​ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ​ สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานวันละหลายชั่วโมง แทบไม่ได้ลุกไปไหน หากได้ออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขน จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายและกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด เพราะการแกว่งแขนช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้ดี

แต่อย่างไรก็ตามการแกว่งแขน​สามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ เพราะหลายคนมุ่งเป้าไปที่การแกว่งแขนด้วยความแรงและจำนวนครั้งที่มากเกินไปหรือแกว่งแขนด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นรอบหัวไหล่​และตามมาด้วยโรค​ไหล่ติด​ (Frozen shoulder)​ ทำให้ปวดไหล่และมีผลกระทบต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภาวะหลังค่อมหรือผู้สูงอายุ อาจเกิดการเสียดสีของเอ็นรอบข้อไหล่และเยื่อหุ้มไหล่ จนเกิดการอักเสบของถุงน้ำรอบข้อไหล่ได้ นอกจากนี้ภาวะเกร็งหรือขาดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสะบักก็มีส่วนทำให้แกว่งแขนด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย

ดังนั้นหากมีอาการไหล่ห่อหรือหลังค่อม​ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังด้วยการแกว่งแขน​ ควรเริ่มจากการออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อสะบักและหลังส่วนบน เพื่อเป็นการปรับให้หลังตรงขึ้น จะช่วยลดการบาดเจ็บข้อไหล่ได้​ โดยใช้ท่าออกกำลังกายดังนี้

1.​) ในท่านั่งหรือนอนตะแคง เริ่มจากท่างอศอกเป็นมุมฉาก อาจใช้ผ้าขนหนูสอดไว้ที่ใต้รักแร้ มือข้างหนึ่งกำหนังยางหรือที่ยกน้ำหนัก(ดัมเบล) ออกแรงยกแขนไปทางด้านข้างลำตัวดังภาพ​ ทำ 10 - 15​ ครั้ง​ต่อรอบ จำนวน 3 รอบต่อวัน

2.​) ในท่ายืนตรง นำมือทั้งสองข้างประสานกันไว้ทางด้านหลัง เหยียดแขนตรง ออกแรงยกแขนทั้งสองข้างขึ้นจนรู้สึกตึงกล้ามเนื้อหน้าอก ค้างไว้ 10 - 15 วินาที ทำ 10 - 15 ครั้ง

3.)​ ในท่าแพลงค์ (half plank) ศอกและเข่าวางลงบนพื้นตามรูป เกร็งค้างไว้ 30​ วินาทีต่อรอบ ทำ 3 รอบต่อวัน​ หากเป็นผู้สูงอายุ​ให้ลงน้ำหนักที่ข้อศอก​และ​ต้นขาด้านหน้า

การแกว่งแขนที่ถูกต้อง คือการออกแรงเกร็งสลับผ่อนคลาย โดยมีการถ่ายน้ำหนักไปทางด้านหน้าและด้านหลัง​ ตามจังหวะการเคลื่อนไหวของแขน โดยเป้าหมายอยู่ที่การเกร็งกล้ามเนื้อขา​ ข้อเท้า​ หน้าท้อง​ และลำตัว​ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้​

1.) ยืนตรง กางขาเท่ากับระยะห่างของไหล่​ 2​ ข้างและงอเข่าเล็กน้อย

2.) ปล่อยแขนวางข้างลำตัวแล้วค่อยเริ่มแกว่งแขนไปทางด้านหน้าและด้านหลังช้าๆปล่อยแรงไปตามธรรมชาติ โดยมุมการเคลื่อนไหวอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน

3.) ขณะแกว่งแขนจะมีการถ่ายน้ำหนักไปทางด้านหน้าและด้านหลัง (ปลายเท้าสลับกับส้นเท้า)

4.) แขม่วพุง​และขมิบก้นไปด้วย เพื่อรักษาการทรงท่าไม่ให้หลังแอ่น

5.) การแกว่งแขนที่ถูกต้องไม่เน้นออกกำลังกายที่ส่วนบน แต่เน้นออกกำลังกายขา

6.) แกว่งแขนรอบละ​ 10 นาที​ วันละ 3​ รอบ

ข้อควรระวัง

ห้ามกลั้นหายใจ ควรหายใจเข้าออกช้าๆตามจังหวะการแกว่งแขน​อย่างเป็นธรรมชาติ​ อย่าแกว่งแขนแรงจนเกินไป แม้ว่าการแกว่งแขนจะมีประโยชน์มากมาย แต่หากทำด้วยความรุนแรงหรือท่าทางที่ไม่เหมาะสมอาจก่อนให้เกิดการบาดเจ็บได้ ดังนั้นควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังแกว่งแขนทุกครั้ง เนื่องจากข้อไหล่​มีเอ็นและกล้ามเนื้อหลายมัด​ การบาดเจ็บหรือการอักเสบอาจส่งผลให้เยื่อหุ้มข้อไหล่มีการหดรั้งและเกิดโรคไหล่ติดได้

หากเกิดการบาดเจ็บขณะออกกำลังกายควรหยุดแกว่งแขนและเริ่มดูแลตนเองเบื้องต้น​ด้วยการประคบความเย็นรอบข้อไหล่​ ครั้งละ 15​ นาที​ วันละ 3 - 4​ รอบ​ จนกว่าอาการปวดและอักเสบดีขึ้น

สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บของข้อไหล่ที่มารับบริการในคลินิกกายภาพบำบัด นอกจากเกิดจากการแกว่งแขนแล้วยังเกิดจากกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์, การอุ้มลูกหรือคุณครูที่เอื้อมมือเขียนกระดานสูงๆ เป็นต้น ซึ่งจะได้เห็นว่าบางกิจกรรม​ไม่น่าจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้​ แต่เมื่อทำกิจกรรมนั้นด้วยระยะเวลานานหรือท่าทางไม่เหมาะสม จะส่งผลให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อไหล่เกร็งเกิดการบาดเจ็บเรื้อรังตามมาได้

ดังนั้นหากเริ่มมีอาการบาดเจ็บของข้อไหล่​ ไม่ควรฝืนออกกำลังกายเพราะจะยิ่งทำให้บาดเจ็บมากขึ้น​ เมื่อเริ่มรู้สึกถึงอาการเจ็บหรือเสียว​ในข้อไหล่ สิ่งแรกที่ควรทำ​คือ ประคบด้วยความเย็น​ และ​ ฟังเพลง "พักก่อน" ของ Milli และถ้าไม่ดีขึ้นก็ควรไป​ "หาหมอก่อน" จะได้ไม่บาดเจ็บเรื้อรังค่ะ

.

เขียนโดย: กภ.อุสา บุญเพ็ญ ปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต พัฒนาการมนุษย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของคลินิกกายภาพบำบัด และเพจสุขภาพดี


ข้อมูลอ้างอิง

https://fullfunctionrehab.com/blog-shoulder-impingement-syndrome/

http://www.rbf-bjpt.org.br/en-kinesiologic-considerations-for-targeting-activation-articulo

https://www.sportsinjurybulletin.com

https://flawlessphysio.co.uk/3-core-exercises-for-runners/

https://foodtalk4you.com/a-new-trend-in-exercise-the-plank/

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/880

https://www.gangbeauty.com/exercise/106178

https://www.health.harvard.edu/shoulders/stretching-exercises-frozen-shoulder

https://www.therapeuticassociates.com/athletic-performance/running/stretching-for-runners/biceps/

“โรคไมเกรน” ถือว่าเป็นโรคที่คนไทยหลาย ๆ คนเป็น เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดในสมองมีการหดตัว ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียว ต้องทานยาสำหรับโรคนี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้หลาย ๆ คนก็สามารถเป็นโรคไมเกรนเทียมได้อีกด้วย !

'โรคไมเกรน' หรือ การปวดหัวข้างเดียว เกิดจากความผิดปกติในการหดตัวของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง มักเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ แต่อาจมีตัวกระตุ้น เช่น แสง สี เสียง กลิ่น อากาศร้อน หรือการมีประจำเดือน มักมีอาการปวดหัวข้างเดียว หรือปวดสลับข้างกัน หากเป็นมากจะเห็นแสงจ้าหรือแสงระยิบระยับร่วมด้วย ซึ่งการปวดหัวไมเกรนมักดีขึ้นได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนโดยเฉพาะ (ยาพาราเซตามอลไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น)

อย่างไรก็ตามหากรับประทานยารักษาไมเกรนแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจเกิดจาก 'ไมเกรนเทียม' แฝงอยู่ก็เป็นได้ !! 

ไมเกรนเทียมไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง แต่เกิดจากการเกร็งตัว หรือหดสั้นของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า และฐานกะโหลกศีรษะ โดยกลุ่มกล้ามเนื้อที่มักก่อให้เกิดการปวดคล้ายไมเกรนพบได้หลายมัด เช่น Suboccipital, Upper trapezius, Semispinalis capitis, Splenius capitis, Sternocleidomastoid Muscle ซึ่งกล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หลักในการพยุงกะโหลกศีรษะ การหันหน้า และการก้มเงยคอ 
เนื่องจากกล้ามเนื้อเหล่านี้มีจุดเกาะอยู่ที่กระดูกสันหลังส่วนคอและฐานกะโหลก

เมื่อเกร็งคอและบ่าเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการปวดสะสมขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงอาจแยกไม่ออกว่าอาการปวดหัวข้างเดียวเกิดขึ้นเกิดจากไมเกรนเทียมหรือไม่

ทั้งนี้ ไมเกรนเทียมสามารถพบได้บ่อยไม่ต่างจากไมเกรนแท้!! แต่สามารถสังเกตได้!! 

วิธีสังเกตอาการของไมเกรนเทียม สังเกตได้จากเมื่อเกิดการปวดหัวข้างเดียว ขณะที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ รวมถึงการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น ไหล่ห่อ คอยื่น เป็นต้น 

นอกจากนี้ไมเกรนเทียมยังสามารถพบจุดกดเจ็บ (Trigger Point) หรือกล้ามเนื้อที่เกร็งค้างบริเวณคอ บ่า และใต้ฐานกะโหลก ซึ่งเมื่อทำการกด นวด หรือยืดกล้ามเนื้อมัดดังกล่าว อาจมีการปวดร้าวไปยังบริเวณต่าง ๆ 

ส่วนวิธีป้องกันไมเกรนเทียมที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องนั่งนาน ๆ เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการเกร็งและนำไปสู่การบาดเจ็บได้ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้... 

>> หากต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานควรจัดระดับหน้าจอ เก้าอี้ และคีย์บอร์ดให้เหมาะสม ควรเป็นเก้าอี้ที่มีที่รองแขน เพื่อให้ไม่ต้องออกแรงยกไหล่ขึ้นตลอดเวลา ปรับระดับหน้าจอ และความสูงของเก้าอี้ 

>> ใส่แว่นสายตาและจัดแสงสว่างให้เหมาะสมกับการทำงานประเภทต่าง ๆ เพราะการต้องเพ่งมองมาก ๆ ทำให้กล้ามเนื้อคอ บ่า และฐานกะโหลกเกร็งตัวมากขึ้น

>> เปลี่ยนอิริยาบททุกชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย หรือดื่มน้ำ 1-2 แก้วทุกชั่วโมงทำให้ต้องเปลี่ยนอิริยาบทและเดินไปเข้าห้องน้ำอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ระหว่างวันควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่อย่างสม่ำเสมอ ดังต่อไปนี้... 

ยืดกล้ามเนื้อบ่า 

เริ่มจากนำแขนข้างที่จะยืดไปไว้ด้านหลัง แล้วใช้มืออีกข้างจับไว้ โดยเอียงศีรษะไปด้านตรงข้าม ช้า ๆ เอียงจนรู้สึกตึงบ่าด้านขวา หรือให้หูซ้ายเข้าใกล้บ่าซ้ายมากที่สุด หากยังไม่รู้สึกตึงให้หมุนหน้าไปทางซ้ายหรือขวาเล็กน้อย ยืดค้าง 5-10 วินาที รอบละ 10-15 ครั้ง

บริหารกล้ามเนื้อฐานกะโหลก

ทำท่าเก็บคาง หรือพยายามเอาคางชิดอกโดยไม่ก้มคอ ห้ามกลั้นหายใจขณะทำ เกร็งค้างเบา ๆ 5-10 วินาที ทำรอบละ 10-15 ครั้ง

บริหารกล้ามเนื้อต้นคอ

...นอนคว่ำ ให้ช่วงอกยื่นออกจากเตียงเล็กน้อย

เก็บคาง ไม่เงยหน้า แต่ให้ออกแรงยกช่วงศีรษะขึ้นมาตรงๆ เกร็งกล้ามเนื้อด้านหลังคอค้างไว้ 5-10 วินาที ทำรอบละ 10-15 ครั้ง

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการปวดหัวข้างเดียวหรือไมเกรนและรับการรักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น เพราะอาจพบไมเกรนเทียมร่วมด้วยนั้น

เราจึงไม่ควรมองข้ามการตรวจประเมินและรักษาไมเกรนเทียม โดยการรักษาด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ดี เช่น การประคบร้อนหรือเย็นตามระยะของอาการ การกดจุดหรือยืดกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหา การใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการออกกำลังกายกล้ามเนื้อเฉพาะจุดและการปรับท่าทางในชีวิตประจำวัน จะช่วยลดปัญหาไมเกรนเทียมได้เป็นอย่างดี

.

เขียนโดย: กภ.อุสา บุญเพ็ญ ปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต พัฒนาการมนุษย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของคลินิกกายภาพบำบัด และเพจสุขภาพดี


ข้อมูลอ้างอิง
http://www.kulpphysicaltherapy.com/headache.html
https://kokyun.wordpress.com/2011/10/10/the-correct-sitting-posture-in-front-of-a-computer/
https://www.thonburihospital.com/Migraine.html
https://i.pinimg.com/originals/b0/80/90/b080902f6d514f13cd01408a57ff36dc.jpg
https://www.rehabmypatient.com/neck/splenius-cervicis
https://salusmt.com/saturday-stretch-the-suboccipital-group/

'ปวดหลังร้าวลงขา' ร่วมกับอาการชาหรือไม่มีแรง อาจไม่ใช่กระดูกทับเส้นเสมอไป แต่อาจเป็นเพียงการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส

เมื่อมีอาการปวดหลังจากการนั่งทำงานนาน ๆ หรือ ยกของหนักแล้วมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง อาการที่เกิดขึ้นมักเป็น ๆ หาย ๆ ก่อให้เกิดความรำคาญใจ ร่วมกับมีอาการชาหรือไม่มีแรง ทำให้หลายคนเข้าใจว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่แท้ที่จริงแล้วอาการดังกล่าวอาจเป็นเพียงการบาดเจ็บ การอักเสบหรือเป็นพังผืดของกล้ามเนื้อสะโพกชั้นลึกที่เรียกว่า กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า "สลักเพชร"

กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ ที่มักเกิดการเกร็งหรือบาดเจ็บจากการใช้งานในชีวิตประจำวันของเรา เช่น การนั่ง การเดิน การวิ่ง ทำให้เกิดอาการปวด "สลักเพชร" หรือก้นทางด้านหลัง กล้ามเนื้อมัดนี้เป็นทางผ่านของเส้นประสาทใหญ่ที่ลงไปเลี้ยงและรับส่งสัญญาณไปกลับระหว่างขากับไขสันหลัง เมื่อเส้นประสาทดังกล่าวได้รับการหนีบ จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อนี้ ทำให้อาการแสดงที่เกิดขึ้นมีความคล้ายคลึงกับอาการของโรคกระดูกทับเส้นประสาท

ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ขอให้รีบไปพบนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและให้คำแนะนำที่ถูกต้อง อย่าวิตกกังวลหรือกลัวว่าจะต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเสมอไป เพราะอาจไม่ใช่โรคกระดูกทับเส้นประสาท

อาการนี้มักพบบ่อยในคน 4 กลุ่มคือ
- ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุล้มก้นกระแทก หรือ เล่นกีฬาที่มีการปะทะ
- ยกของหนักเดินขึ้นลงบันได
- วิ่งขึ้นลงทางชัน
- นั่งเก้าอี้เตี้ยนาน ๆ (เก้าอี้ที่ระดับก้นต่ำกว่าเข่า)

ผู้ป่วยส่วนมากที่มารับการรักษากล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสที่คลินิกกายภาพบำบัด คือกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ชื่นชอบการออกกำลังกายในฟิตเนส โดยเฉพาะคนที่อยากปั้นสะโพกหรือก้นให้เฟิร์มเบอร์เดียวกับเจนนิเฟอร์โลเปส หรือ กัปตันอเมริกา ดังนั้นกลุ่มนี้จะได้รับการฝึกท่าก้นอย่างหนักสารพัดท่า ซึ่งถ้าหากฝึกหนักเกินไปหรือฝึกจนเกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อก็จะเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสได้เช่นกัน

การป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสคือ หลีกเลี่ยงการเป็นคน 4 กลุ่มทางด้านบน และออกกำลังกล้ามเนื้อก้นด้วยความพอดี อย่ากดดันตัวเอง หรือเทรนเนอร์มากเกินไป ซึ่งความพอดีและการมีทางสายกลาง คือ หนทางป้องกันโรคนี้ได้

การรักษาทางกายภาพบำบัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นักกายภาพบำบัดจะใช้การยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส และใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อคลายความเจ็บปวดหรือลดการอักเสบของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส พร้อมทั้งแนะนำการปรับการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำอีก

คำถามยอดฮิตสำหรับทุกคนที่มีอาการเหล่านี้ คือ
สามารถไปนวดได้ไหม? คำตอบคือ ถ้ายังไม่มีอาการชาหรือปวดร้าวลงขา ก็สามารถไปนวดได้ แต่ถ้ามีอาการชาหรือปวดร้าวลงขาแล้ว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดจะดีกว่า

การประคบด้วยความร้อนหรือเย็นช่วยได้ไหม ? ต้องบอกว่าการประคบด้วยความร้อนหรือเย็นจะได้ผลดีกับเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นตื้นหรือชั้นบนเท่านั้น ไม่สามารถส่งผลไปถึงกล้ามเนื้อชั้นลึกอย่างกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสได้ แต่หากจะประคบเพื่อบรรเทาปวดเบื้องต้นก็สามารถทำได้

เชิญชวนมายืดเหยียดกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสและกล้ามเนื้อรอบสะโพก โดย 2 ท่านี้เป็นท่าที่ง่ายและสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ ยืดค้างไว้จนรู้สึกตึงบริเวณก้น นาน 10 - 20 วินาที อย่าให้เจ็บมาก เมื่อทำเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันโรคนี้ได้ในระดับหนึ่ง

ท่าที่ 1 นั่งเก้าอี้ นำข้อเท้าข้างหนึ่งวางไว้บนหน้าขาอีกข้างหนึ่งตามรูป พยายามก้มตัวลงทางด้านหน้าให้มากที่สุดจนรู้สึกตึงบริเวณก้นทางด้านหลัง ค้างไว้ 10 - 20 วินาที

ท่าที่ 2 นั่งขัดสมาธิบนพื้นด้วยการงอขาข้างหนึ่งทางด้านหน้า ส่วนขาอีกข้างเหยียดไปทางด้านหลังตามรูป ยืดลำตัวตั้งตรง จะรู้สึกก้นทางด้านหลังและหน้าขา ค้างไว้ 10 - 20 วินาที

เขียนโดย: กภ.อุสา บุญเพ็ญ ปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต พัฒนาการมนุษย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของคลินิกกายภาพบำบัด และเพจสุขภาพดี


เอกสารอ้างอิง
E R Benson and S F Schutzer. Posttraumatic piriformis syndrome: diagnosis and results of operative treatment. J Bone Joint Surg Am. 1999. P.941-949.
https://www.physio-pedia.com/Piriformis_Syndrome
http://www.freyagilmore.uk/2016/08/30/piriformis-syndrome/
https://www.precisionnutrition.com/doctor-detective-sciatic-pain
https://www.inquirer.com/philly/health/personal-best/an-integrative-stretching-plan-to-combat-tight-hips-20171206.html

หัวจะระเบิดแล้ว!! ปวดหัวแบบไหน เรียกว่า...'โรคไมเกรน'

'โรคไมเกรน' หรือ การปวดหัวข้างเดียว เกิดจากความผิดปกติในการหดตัวของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง มักเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ แต่อาจมีตัวกระตุ้น เช่น แสง สี เสียง กลิ่น อากาศร้อน หรือการมีประจำเดือน มักมีอาการปวดหัวข้างเดียว หรือปวดสลับข้างกัน หากเป็นมากจะเห็นแสงจ้าหรือแสงระยิบระยับร่วมด้วย ซึ่งการปวดหัวไมเกรนมักดีขึ้นได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนโดยเฉพาะ (ยาพาราเซตามอลไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น)

อย่างไรก็ตามหากรับประทานยารักษาไมเกรนแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจเกิดจาก 'ไมเกรนเทียม' แฝงอยู่ก็เป็นได้ !! 

ไมเกรนเทียมไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง แต่เกิดจากการเกร็งตัว หรือหดสั้นของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า และฐานกะโหลกศีรษะ โดยกลุ่มกล้ามเนื้อที่มักก่อให้เกิดการปวดคล้ายไมเกรนพบได้หลายมัด เช่น Suboccipital, Upper trapezius, Semispinalis capitis, Splenius capitis, Sternocleidomastoid Muscle ซึ่งกล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หลักในการพยุงกะโหลกศีรษะ การหันหน้า และการก้มเงยคอ 
เนื่องจากกล้ามเนื้อเหล่านี้มีจุดเกาะอยู่ที่กระดูกสันหลังส่วนคอและฐานกะโหลก

เมื่อเกร็งคอและบ่าเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการปวดสะสมขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงอาจแยกไม่ออกว่าอาการปวดหัวข้างเดียวเกิดขึ้นเกิดจากไมเกรนเทียมหรือไม่

ทั้งนี้ ไมเกรนเทียมสามารถพบได้บ่อยไม่ต่างจากไมเกรนแท้!! แต่สามารถสังเกตได้!! 

วิธีสังเกตอาการของไมเกรนเทียม สังเกตได้จากเมื่อเกิดการปวดหัวข้างเดียว ขณะที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ รวมถึงการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น ไหล่ห่อ คอยื่น เป็นต้น 

นอกจากนี้ไมเกรนเทียมยังสามารถพบจุดกดเจ็บ (Trigger Point) หรือกล้ามเนื้อที่เกร็งค้างบริเวณคอ บ่า และใต้ฐานกะโหลก ซึ่งเมื่อทำการกด นวด หรือยืดกล้ามเนื้อมัดดังกล่าว อาจมีการปวดร้าวไปยังบริเวณต่าง ๆ 

ส่วนวิธีป้องกันไมเกรนเทียมที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องนั่งนาน ๆ เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการเกร็งและนำไปสู่การบาดเจ็บได้ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้... 

>> หากต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานควรจัดระดับหน้าจอ เก้าอี้ และคีย์บอร์ดให้เหมาะสม ควรเป็นเก้าอี้ที่มีที่รองแขน เพื่อให้ไม่ต้องออกแรงยกไหล่ขึ้นตลอดเวลา ปรับระดับหน้าจอ และความสูงของเก้าอี้ 

>> ใส่แว่นสายตาและจัดแสงสว่างให้เหมาะสมกับการทำงานประเภทต่าง ๆ เพราะการต้องเพ่งมองมาก ๆ ทำให้กล้ามเนื้อคอ บ่า และฐานกะโหลกเกร็งตัวมากขึ้น

>> เปลี่ยนอิริยาบททุกชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย หรือดื่มน้ำ 1-2 แก้วทุกชั่วโมงทำให้ต้องเปลี่ยนอิริยาบทและเดินไปเข้าห้องน้ำอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ระหว่างวันควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่อย่างสม่ำเสมอ ดังต่อไปนี้... 

ยืดกล้ามเนื้อบ่า 

เริ่มจากนำแขนข้างที่จะยืดไปไว้ด้านหลัง แล้วใช้มืออีกข้างจับไว้ โดยเอียงศีรษะไปด้านตรงข้าม ช้า ๆ เอียงจนรู้สึกตึงบ่าด้านขวา หรือให้หูซ้ายเข้าใกล้บ่าซ้ายมากที่สุด หากยังไม่รู้สึกตึงให้หมุนหน้าไปทางซ้ายหรือขวาเล็กน้อย ยืดค้าง 5-10 วินาที รอบละ 10-15 ครั้ง

 

บริหารกล้ามเนื้อฐานกะโหลก

ทำท่าเก็บคาง หรือพยายามเอาคางชิดอกโดยไม่ก้มคอ ห้ามกลั้นหายใจขณะทำ เกร็งค้างเบา ๆ 5-10 วินาที ทำรอบละ 10-15 ครั้ง

 

บริหารกล้ามเนื้อต้นคอ

...นอนคว่ำ ให้ช่วงอกยื่นออกจากเตียงเล็กน้อย

เก็บคาง ไม่เงยหน้า แต่ให้ออกแรงยกช่วงศีรษะขึ้นมาตรงๆ เกร็งกล้ามเนื้อด้านหลังคอค้างไว้ 5-10 วินาที ทำรอบละ 10-15 ครั้ง


อย่างไรก็ตามเมื่อมีการปวดหัวข้างเดียวหรือไมเกรนและรับการรักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น เพราะอาจพบไมเกรนเทียมร่วมด้วยนั้น

เราจึงไม่ควรมองข้ามการตรวจประเมินและรักษาไมเกรนเทียม โดยการรักษาด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ดี เช่น การประคบร้อนหรือเย็นตามระยะของอาการ การกดจุดหรือยืดกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหา การใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการออกกำลังกายกล้ามเนื้อเฉพาะจุดและการปรับท่าทางในชีวิตประจำวัน จะช่วยลดปัญหาไมเกรนเทียมได้เป็นอย่างดี


ข้อมูลอ้างอิง
http://www.kulpphysicaltherapy.com/headache.html
https://kokyun.wordpress.com/2011/10/10/the-correct-sitting-posture-in-front-of-a-computer/
https://www.thonburihospital.com/Migraine.html
https://i.pinimg.com/originals/b0/80/90/b080902f6d514f13cd01408a57ff36dc.jpg
https://www.rehabmypatient.com/neck/splenius-cervicis
https://salusmt.com/saturday-stretch-the-suboccipital-group/
 

แกว่งแขน​อย่างไร !! ข้อไหล่ไม่บาดเจ็บ

ในช่วงที่ผ่านมากระแสการออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขนเพื่อลดพุง​ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่ง่าย​ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ​ สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานวันละหลายชั่วโมง แทบไม่ได้ลุกไปไหน หากได้ออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขน จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายและกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด เพราะการแกว่งแขนช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้ดี

แต่อย่างไรก็ตามการแกว่งแขน​สามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ เพราะหลายคนมุ่งเป้าไปที่การแกว่งแขนด้วยความแรงและจำนวนครั้งที่มากเกินไปหรือแกว่งแขนด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นรอบหัวไหล่​และตามมาด้วยโรค​ไหล่ติด​ (Frozen shoulder)​ ทำให้ปวดไหล่และมีผลกระทบต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภาวะหลังค่อมหรือผู้สูงอายุ อาจเกิดการเสียดสีของเอ็นรอบข้อไหล่และเยื่อหุ้มไหล่ จนเกิดการอักเสบของถุงน้ำรอบข้อไหล่ได้ นอกจากนี้ภาวะเกร็งหรือขาดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสะบักก็มีส่วนทำให้แกว่งแขนด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย

ดังนั้นหากมีอาการไหล่ห่อหรือหลังค่อม​ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังด้วยการแกว่งแขน​ ควรเริ่มจากการออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อสะบักและหลังส่วนบน เพื่อเป็นการปรับให้หลังตรงขึ้น จะช่วยลดการบาดเจ็บข้อไหล่ได้​ โดยใช้ท่าออกกำลังกายดังนี้

1.​) ในท่านั่งหรือนอนตะแคง เริ่มจากท่างอศอกเป็นมุมฉาก อาจใช้ผ้าขนหนูสอดไว้ที่ใต้รักแร้ มือข้างหนึ่งกำหนังยางหรือที่ยกน้ำหนัก(ดัมเบล) ออกแรงยกแขนไปทางด้านข้างลำตัวดังภาพ​ ทำ 10 - 15​ ครั้ง​ต่อรอบ จำนวน 3 รอบต่อวัน

2.​) ในท่ายืนตรง นำมือทั้งสองข้างประสานกันไว้ทางด้านหลัง เหยียดแขนตรง ออกแรงยกแขนทั้งสองข้างขึ้นจนรู้สึกตึงกล้ามเนื้อหน้าอก ค้างไว้ 10 - 15 วินาที ทำ 10 - 15 ครั้ง

3.)​ ในท่าแพลงค์ (half plank) ศอกและเข่าวางลงบนพื้นตามรูป เกร็งค้างไว้ 30​ วินาทีต่อรอบ ทำ 3 รอบต่อวัน​ หากเป็นผู้สูงอายุ​ให้ลงน้ำหนักที่ข้อศอก​และ​ต้นขาด้านหน้า

การแกว่งแขนที่ถูกต้อง คือการออกแรงเกร็งสลับผ่อนคลาย โดยมีการถ่ายน้ำหนักไปทางด้านหน้าและด้านหลัง​ ตามจังหวะการเคลื่อนไหวของแขน โดยเป้าหมายอยู่ที่การเกร็งกล้ามเนื้อขา​ ข้อเท้า​ หน้าท้อง​ และลำตัว​ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้​

1.) ยืนตรง กางขาเท่ากับระยะห่างของไหล่​ 2​ ข้างและงอเข่าเล็กน้อย

2.) ปล่อยแขนวางข้างลำตัวแล้วค่อยเริ่มแกว่งแขนไปทางด้านหน้าและด้านหลังช้าๆปล่อยแรงไปตามธรรมชาติ โดยมุมการเคลื่อนไหวอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน

3.) ขณะแกว่งแขนจะมีการถ่ายน้ำหนักไปทางด้านหน้าและด้านหลัง (ปลายเท้าสลับกับส้นเท้า)

4.) แขม่วพุง​และขมิบก้นไปด้วย เพื่อรักษาการทรงท่าไม่ให้หลังแอ่น

5.) การแกว่งแขนที่ถูกต้องไม่เน้นออกกำลังกายที่ส่วนบน แต่เน้นออกกำลังกายขา

6.) แกว่งแขนรอบละ​ 10 นาที​ วันละ 3​ รอบ

ข้อควรระวัง

ห้ามกลั้นหายใจ ควรหายใจเข้าออกช้าๆตามจังหวะการแกว่งแขน​อย่างเป็นธรรมชาติ​ อย่าแกว่งแขนแรงจนเกินไป แม้ว่าการแกว่งแขนจะมีประโยชน์มากมาย แต่หากทำด้วยความรุนแรงหรือท่าทางที่ไม่เหมาะสมอาจก่อนให้เกิดการบาดเจ็บได้ ดังนั้นควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังแกว่งแขนทุกครั้ง เนื่องจากข้อไหล่​มีเอ็นและกล้ามเนื้อหลายมัด​ การบาดเจ็บหรือการอักเสบอาจส่งผลให้เยื่อหุ้มข้อไหล่มีการหดรั้งและเกิดโรคไหล่ติดได้

หากเกิดการบาดเจ็บขณะออกกำลังกายควรหยุดแกว่งแขนและเริ่มดูแลตนเองเบื้องต้น​ด้วยการประคบความเย็นรอบข้อไหล่​ ครั้งละ 15​ นาที​ วันละ 3 - 4​ รอบ​ จนกว่าอาการปวดและอักเสบดีขึ้น

สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บของข้อไหล่ที่มารับบริการในคลินิกกายภาพบำบัด นอกจากเกิดจากการแกว่งแขนแล้วยังเกิดจากกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์, การอุ้มลูกหรือคุณครูที่เอื้อมมือเขียนกระดานสูงๆ เป็นต้น ซึ่งจะได้เห็นว่าบางกิจกรรม​ไม่น่าจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้​ แต่เมื่อทำกิจกรรมนั้นด้วยระยะเวลานานหรือท่าทางไม่เหมาะสม จะส่งผลให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อไหล่เกร็งเกิดการบาดเจ็บเรื้อรังตามมาได้

ดังนั้นหากเริ่มมีอาการบาดเจ็บของข้อไหล่​ ไม่ควรฝืนออกกำลังกายเพราะจะยิ่งทำให้บาดเจ็บมากขึ้น​ เมื่อเริ่มรู้สึกถึงอาการเจ็บหรือเสียว​ในข้อไหล่ สิ่งแรกที่ควรทำ​คือ ประคบด้วยความเย็น​ และ​ ฟังเพลง "พักก่อน" ของ Milli และถ้าไม่ดีขึ้นก็ควรไป​ "หาหมอก่อน" จะได้ไม่บาดเจ็บเรื้อรังค่ะ


ข้อมูลอ้างอิง

https://fullfunctionrehab.com/blog-shoulder-impingement-syndrome/

http://www.rbf-bjpt.org.br/en-kinesiologic-considerations-for-targeting-activation-articulo

https://www.sportsinjurybulletin.com

https://flawlessphysio.co.uk/3-core-exercises-for-runners/

https://foodtalk4you.com/a-new-trend-in-exercise-the-plank/

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/880

https://www.gangbeauty.com/exercise/106178

https://www.health.harvard.edu/shoulders/stretching-exercises-frozen-shoulder

https://www.therapeuticassociates.com/athletic-performance/running/stretching-for-runners/biceps/

ปวดหลังร้าวลงขา​ อาจไม่ใช่กระดูกทับเส้นเสมอไป

เมื่อมีอาการปวดหลังจากการนั่งทำงานนาน ๆ หรือ ยกของหนักแล้วมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง อาการที่เกิดขึ้นมักเป็น ๆ หาย ๆ ก่อให้เกิดความรำคาญใจ ร่วมกับมีอาการชาหรือไม่มีแรง ทำให้หลายคนเข้าใจว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่แท้ที่จริงแล้วอาการดังกล่าวอาจเป็นเพียงการบาดเจ็บ​ การอักเสบ​หรือเป็นพังผืดของกล้ามเนื้อสะโพกชั้นลึกที่เรียกว่า กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า​ "สลักเพชร"

กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ ที่มักเกิดการเกร็งหรือบาดเจ็บ​จากการใช้งานในชีวิตประจำวันของเรา เช่น การนั่ง การเดิน การวิ่ง ทำให้เกิดอาการปวด​ "สลักเพชร" หรือก้นทางด้านหลัง กล้ามเนื้อมัดนี้เป็นทางผ่านของเส้นประสาทใหญ่​ที่ลงไปเลี้ยง​และรับส่งสัญญาณไปกลับระหว่างขากับไขสันหลัง เมื่อเส้นประสาทดังกล่าวได้รับการหนีบ จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อนี้ ทำให้อาการแสดงที่เกิดขึ้นมีความคล้ายคลึงกับอาการของโรคกระดูกทับเส้นประสาท

ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ขอให้รีบไปพบนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและให้คำแนะนำที่ถูกต้อง อย่าวิตกกังวลหรือกลัวว่าจะต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเสมอไป เพราะอาจไม่ใช่โรคกระดูกทับเส้นประสาท

อาการนี้มักพบบ่อยในคน​ 4 กลุ่ม​คือ

- ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุล้มก้นกระแทก​ หรือ เล่นกีฬาที่มีการปะทะ

- ยกของหนักเดินขึ้นลงบันได

- วิ่งขึ้นลงทางชัน

- นั่งเก้าอี้เตี้ยนาน ๆ (เก้าอี้ที่ระดับก้นต่ำกว่าเข่า)​

ผู้ป่วยส่วนมากที่มารับการรักษากล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสที่คลินิกกายภาพบำบัด คือกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ชื่นชอบการออกกำลังกายในฟิตเนส​ โดยเฉพาะคนที่อยากปั้นสะโพกหรือก้นให้เฟิร์มเบอร์เดียวกับเจนนิเฟอร์โลเปส​ หรือ​ กัปตันอเมริกา​ ดังนั้นกลุ่มนี้​จะได้รับการฝึกท่าก้นอย่างหนักสารพัดท่า​ ซึ่งถ้าหากฝึกหนักเกินไปหรือฝึกจนเกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อก็จะเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสได้เช่นกัน

การป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสคือ​ หลีกเลี่ยงการเป็นคน​ 4​ กลุ่มทางด้านบน​ และออกกำลังกล้ามเนื้อก้นด้วยความพอดี​ อย่ากดดันตัวเอง หรือเทรนเนอร์มาก​เกินไป​ ซึ่งความพอดีและการมีทางสายกลาง​ คือ​ หนทางป้องกันโรคนี้ได้

การรักษาทางกายภาพบำบัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นักกายภาพบำบัดจะใช้การยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส และใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อคลายความเจ็บปวดหรือลดการอักเสบของกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส พร้อมทั้งแนะนำการปรับการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำอีก

คำถามยอดฮิตสำหรับทุกคนที่มีอาการเหล่านี้ คือ

สามารถไปนวดได้ไหม? คำตอบคือ​ ถ้ายังไม่มีอาการชา​หรือปวดร้าวลงขา​ ก็สามารถไปนวดได้​ แต่ถ้ามีอาการชา​หรือปวดร้าวลงขาแล้ว​ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดจะดีกว่า

การประคบด้วยความร้อนหรือเย็นช่วยได้ไหม ? ต้องบอกว่าการประคบด้วยความร้อนหรือเย็นจะได้ผลดีกับเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นตื้นหรือชั้นบนเท่านั้น​ ไม่สามารถส่งผลไปถึงกล้ามเนื้อชั้นลึกอย่างกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสได้​ แต่หากจะประคบเพื่อบรรเทาปวดเบื้องต้น​ก็สามารถทำได้

เชิญชวนมายืดเหยียดกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสและกล้ามเนื้อรอบสะโพก โดย 2 ท่านี้เป็นท่าที่ง่ายและสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ ยืดค้างไว้จนรู้สึกตึงบริเวณก้น นาน 10 - 20 วินาที อย่าให้เจ็บมาก เมื่อทำเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันโรคนี้ได้ในระดับหนึ่ง

ท่าที่ 1 นั่งเก้าอี้ นำข้อเท้าข้างหนึ่งวางไว้บนหน้าขาอีกข้างหนึ่งตามรูป พยายามก้มตัวลงทางด้านหน้าให้มากที่สุดจนรู้สึกตึงบริเวณก้นทางด้านหลัง ค้างไว้ 10 - 20 วินาที

ท่าที่ 2 นั่งขัดสมาธิบนพื้นด้วยการงอขาข้างหนึ่งทางด้านหน้า ส่วนขาอีกข้างเหยียดไปทางด้านหลังตามรูป ยืดลำตัวตั้งตรง จะรู้สึกก้นทางด้านหลังและหน้าขา ค้างไว้ 10 - 20 วินาที

.

เอกสารอ้างอิง

E R Benson and S F Schutzer. Posttraumatic piriformis syndrome: diagnosis and results of operative treatment. J Bone Joint Surg Am. 1999. P.941-949.

https://www.physio-pedia.com/Piriformis_Syndrome

http://www.freyagilmore.uk/2016/08/30/piriformis-syndrome/

https://www.precisionnutrition.com/doctor-detective-sciatic-pain

https://www.inquirer.com/philly/health/personal-best/an-integrative-stretching-plan-to-combat-tight-hips-20171206.html


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top